วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ตรรกศาสตร์เบื้องต้น

                                 ตรรกศาสตร์เบื้องต้น

ประพจน์
   ประพจน์(statement or proposition) คือ ประโยคที่บอกค่าความจริง 
   (truth value)ได้ว่าเป็นจริง (true) หรือ เท็จ (False) เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
  โดยทั่วไปจะใช้อักษรภาษาอังกฤษแทนประพจน์

  ตัวบ่งปริมาณ
    ในวิชาคณิตศาสตร์จะพบว่ามีการใช้ข้อความ สำหรับ x ทุกตัว และ สำหรับ x บางตัว  
 เรียก " สำหรับ …ทุกตัว " และ " สำหรับ…บางตัว " ว่า " ตัวบ่งปริมาณ " แทนด้วย
 สัญลักษณ์ , ตามลำดับ
x แทน สำหรับ x ทุกตัว
x แทน สำหรับ x บางตัว ( มีน้อยกว่า 1 )
แทน เอกภพสัมพัทธ์
R แทน เซตของจำนวนจริง
Q แทน เซตของจำนวนตรรกยะ
I หรือ Z แทน เซตของจำนวนเต็ม
N แทน เซตของจำนวนนับ

     การเขียนสัญลักษณ์แทนประโยคเปิดที่มีตัวบ่งปริมาณ เราจะต้องเขียนเอกภพสัมพัทธ์ กำกับไว้เสมอ เพื่อจะได้ทราบขอบเขตของตัวแปรว่าแทนสิ่งใด แต่ในกรณีที่เอกภพสัมพัทธ์ เป็นเซตของจำนวนจริง มักนิยมละการเขียนเอกภพสัมพัทธ์ นอกจากนี้ในการศึกษาเกี่ยวกับ เซตนิยมละการเขียนเอกภพสัมพัทธ์เช่นเดียวกัน


 ค่าความจริงของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณตัวเดียว


   พิจารณาประโยคเปิด > 0 เมื่อกำหนดตัวบ่งปริมาณและเอกภพสัมพัทธ์ให้แตกต่างกัน ดังนี้
  x[ > 0], = {0,1,2,3} หมายถึง สมาชิกทุกตัวใน ยกกำลังสองแล้วมากกว่า 0
  x[ > 0], = {0,1,2,3} หมายถึง สมาชิกบางตัวใน ยกกำลังสองแล้วมากกว่า 0
  x[ > 0], = {1,2,3} หมายถึง สมาชิกทุกตัวใน ยกกำลังสองแล้วมากกว่า 0
  x[ > 0], = {1,2,3} หมายถึง สมาชิกบางตัวใน ยกกำลังสองแล้วมากกว่า 0
   x[ < 0], = {1,2,3} หมายถึง สมาชิกบางตัวใน ยกกำลังสองแล้วน้อยกว่า 0
   
    การพิจารณาค่าความจริงของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณนั้น โดยทั่วไปจะพิจารณา
   แต่ละส่วนของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ ดังนี้
            ส่วนที่ 1 ตัวบ่งปริมาณ              
            ส่วนที่ 2 ประโยคเปิด              
            ส่วนที่ 3 เอกภพสัมพัทธ์

   
ในที่นี้จะพิจารณาค่าความจริงของประโยยคที่มีตัวบ่งปริมาณ ซึ่งเป็นประโยคที่มีตัวแปร เพียงตัวเดียว และเพื่อความสะดวกในการกล่าวถึงประโยค จะแทนประโยคที่มีตัวแปร x ด้วย P(x) ดังนั้น ประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณที่จะพิจารณาค่าความจริง จะเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ ดังนี้ [P(x)] เมื่อเอกภพสัมพัทธ์ คือ [P(x)] เมื่อเอกภพสัมพัทธ์ คือ


            นิเสธของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ


    การพิจารณานิเสธของประโยคเปิด หรือประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ โดย
       วิธีเทียบนิเสธของประพจน์เหมือนกับ การพิจารณาสมมูลของประโยค ดังนี้  
    นิเสธของ p หรือ ~p จากรูปแบบนิเสธนี้จะตกลงให้นิเสธของประโยค
      เปิด หรือประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ โดยวิธีเติมตัวเชื่อม " ~ " ข้างหน้าประโยค เช่น
       นิเสธของ P(x) คือ ~P(x)      
       นิเสธของ x[P(x)] คือ ~ x[P(x)]
       นิเสธของ x[P(x)] คือ ~ x[P(x)]
       นิเสธของ x[P(x) ^ Q(x)] คือ ~ x[P(x) ^ Q(x)]
       นิเสธของ x[P(x)] => นิเสธชอง x[Q(x)] คือ ~( x[P(x)] => x[Q(x)])

     สำหรับนิเสธของประโยคเปิดในรูปแบบอื่นจะเปรียบเทียบกับนิเสธของประพจน์ ได้ ดังนี้
          1. นิเสธของ p ^ q คือ ~p v ~q ||
นิเสธของ x[P(x)] ^ x[Q(x)] คือ ~ x[P(x)] v ~ x[Q(x)]
          2. นิเสธของ p => q คือ p ^ ~q || นิเสธของ x[P(x)] => x[Q(x)] คือ x[P(x)] ^ ~ x[Q(x)]

^0^ข้อสังเกต^0^ ประโยคเปิดที่เป็นนิเสธกัน ถ้าเติมตัวบ่งปริมาณชนิดเดียวกัน ไปข้างหน้า ผลจะไม่ได้ประพจน์ที่เป็นนิเสธกัน

          
       
ที่มา: http://www.snr.ac.th/m4html/y4html/9.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น